วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีการศึกษา

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
......1. สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น
......2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ
......3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
......4. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
......5. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
......6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

พระราชบัญญัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปแบบอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนจัดให้มีแบบเรียน ตำรา วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นอย่างเร่งรัด พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต มีเงินสนับสนุน เปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีภาพและเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรและผู้ใช้เทคโนโลยี เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาการผลิตและเทคโนโลยี รวมทั้งการติดตาม การตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่า เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริมและประสานการวิจัยการพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิต และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
http://bussabong.blogspot.com/


วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นวัตกรรมการศึกษา


นวัตกรรมการศึกษา

ความหมายของ “นวัตกรรม”

คำว่า นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)     

นวัตกรรม   เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ  ทั้งเนื่องจากบทบาท  และมีความหมายคล้ายคลึงกัน  มีเป้าหมายในการนำไปใช้อย่างเดียวกันดังแผนภูมิต่อไปนี้

                                   นวัตกรรม  (Innovation)                                                               เป้าหมาย




                                                                  เทคโนโลยี   (Technolgy)

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม 
  1.  จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
  2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
  3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น ระยะ คือ 
       ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation)
   
     ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development)
  
     ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป

โดยสรุปแล้ว
                นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา


ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา 
 “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation)
                หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้         4 ประการ คือ

                1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
                2. ความพร้อม (Readiness)
                3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
                4. ประสิทธิภาพในการเรียน



นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน 
1.   E-learning
2.  ห้องเรียนเสมือนจริง
3.  สื่อหลายมิติ



บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอน
                เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอน  ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น
2.  สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.  ให้การศึกษาดีขึ้น
4.  มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน
5.  ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว
6.  ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น





ข้อแตกต่าง และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม    

นวัตกรรม คือ ความคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
                เทคโนโลยี คือ การนำเอาขบวนการวิธีการและแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่าง มีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม คือ การให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ งานในปัจจุบัน ดังนั้นความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่านวัตกรรมจะกลายเป็นเทคโนโลยีทันที



สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา
กระบวนการทำให้การศึกษาในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  พอสรุปได้  3  ประการคือ
1.  การเพิ่มจำนวนประชากร
2.  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3.  ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ


 http://teacher003.igetweb.com/articles/575671/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1.html








เทคโนโลยีการศึกษา


เทคโนโลยีการศึกษา


ความหมายของ “เทคโนโลยี”


"เทคโนโลยี"หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้

                1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency)
                2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness)
                3. ประหยัด (Economy)
                4. ปลอดภัย (Safety)

ความหมายของ “เทคโนโลยีการศึกษา”

                 "เทคโนโลยีการศึกษา" หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ

    1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
    2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์







ระดับของเทคโนโลยีการสือสาร 
เทคโนโลยีทางการศึกษาแบ่งออกเป็น  3  ระดับ  ได้แก่
                                1. ระดับอุปกรณ์การสอน
                                2. ระดับวิธีสอน
                                3.  ระดับการจัดระบบการศึกษา



เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา


http://teacher003.igetweb.com/articles/575671/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1.html